การติดตั้ง EV charger  ให้เป็นตามมาตรฐานของประเทศไทยเป็นอย่างไร

ปัจจุบันการติดตั้ง (Electric Vehicle  EV Charger) รถไฟฟ้า ถือเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มมีราคาปรับตัวลดลงให้คนธรรมดาสามารถเป็นเจ้าของได้ ประกอบกับมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐที่สนับสนุนให้ผู้บริโภคเลือกซื้อรถใหม่เป็นรถไฟฟ้าด้วยนั้น ทำให้หลายคนที่วางแผนจะซื้อรถใหม่ในช่วงปีนี้ (พ.ศ. 2565) ต้องวางแผนที่จะซื้อรถคันใหม่ที่เป็นน้ำมัน หรือจะเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเลยเพื่อแก้น้ำมันที่สูงขึ้นในอนาคต

ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ที่จะซื้อรถไฟฟ้าคือการเลือกชนิดของที่ชาร์ตรถไฟฟ้าและการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับรูปแบบ (mode) การชาร์ตรถไฟฟ้า, ชนิด (type) ของหัวชาร์ต และ แนวทางการปรับปรุงระบบไฟฟ้าของบ้านเพื่อรองรับระบบชาร์ตรถไฟฟ้า เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจสำหรับการติดตั้งระบบชาร์ตรถไฟฟ้าต่อไป

รูปแบบการชาร์ตรถไฟฟ้า (Electric vehicle charging modes)

มาตรฐาน IEC 61851-1 (Electric vehicle conductive charging system) ให้นิยามรูปแบบการชาร์ตรถไฟฟ้าไว้ดังนี้

  • โหมด 1 การเชื่อมต่อไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้า (AC) ผ่านเต้ารับมาตรฐาน โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ควบคุมการอัดประจุไฟฟ้าใด ๆ และมีพิกัดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A (หมายเหตุ ปัจจุบันห้ามการชาร์ตไฟฟ้าโหมด 1 ตาม มอก. 61851 เล่ม 1-2560)
  • โหมด 2 การติดตั้งไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้า (AC) ผ่านเต้ารับมาตรฐาน โดยมีการใช้อุปกรณ์ควบคุมและป้องกันในสาย (In-cable control and protection device: IC-CPD) และมีพิกัดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 32 A (ซึ่งส่วนใหญ่สายชาร์ตที่ติดมากับรถไฟฟ้าจะเป็นการชาร์ตในโหมด 2 นี้ทั้งสิ้น)
  • โหมด 3 การเชื่อมต่อไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC) ที่ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
  • โหมด 4 การติดตั้งไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (DC) ที่ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะภาพแสดงโหมดการชาร์ตไฟของรถไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC 61851-1

ชนิดของหัวชาร์ตรถไฟฟ้า (Electric vehicle socket type)

1.ชนิดของหัวชาร์ตรถไฟฟ้เต้ารับและเต้าเสียบของรถไฟฟ้ามีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดจะรองรับรูปแบบและปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์ตที่แตกต่างกัน โดยในภาพรวม เต้ารับและเต้าเสียบของการชาร์ตไฟแบบกระแสสลับ (AC) จะเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 62196-2 และ การชาร์ตไฟแบบกระแสตรง (DC) จะเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 62196-3

หัวชาร์ต AC ที่เป็นที่นิยมมี 2 รูปแบบคือ

  • Type 1 connector (SAE J1772) เป็นชนิดของหัวชาร์ต AC ที่นิยมใช้เป็นส่วนมากในอเมริกาและญี่ปุ่น สามารถรองรับกระแสสูงสุดขณะชาร์ตได้ 32 A (1 phase 250 V
  • Type 2 connector (IEC 62196-2) เป็นชนิดของหัวชาร์ต AC ที่นิยมใช้เป็นส่วนมากในสหภาพยุโรป สามารถรองรับกระแสสูงสุดขณะชาร์ตได้ 63 A (3 phase 480 V)

หัวชาร์ต DC ที่เป็นที่นิยมมี 3 รูปแบบคือ

1. CHAdeMo ซึ่งระบบ Charge Move พัฒนาขึ้นบนความร่วมมือของบริษัทรถยนต์ โตโยต้า มิตซูบิชิ และ นิสสัน มีการใช้อย่างมากในประเทศญี่ปุ่น ในเวอร์ชั่นแรกสามารถจ่ายไฟได้ 62.5 KW ในเวอร์ชั่น2 (CHAdeMO 2.0) ได้รับการปรับปรุงจนใช้ไฟได้ถึง 400KW  

2. Combined Charging System (CCS) Combo 1 เป็นระบบที่ใช้ฐานหัวชาร์ตแบบ J1772 Type 1 แต่มีการเสียบเต้าเพิ่ม2 รู ระบบ Combined Charging รองรับ DC Fast Charging ได้สูงสุด 350KW

3. Combined Charging System (CCS) Combo 2 IEC 62196-3 เป็นระบบที่ใช้พื้นฐานของหัวชาร์ต 2 TYPE แต่มีการเสียบเต้ารับเพิ่ม 2 รู ระบบ Combined Charging รองรับ DC FAST Charging สูงสุด 350

 

การติดตั้ง EV Charger ในบ้านต้องทำอย่างไร

EV Charger เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากโดยยิ่งเครื่องชาร์ตสามารถชาร์ตรถไฟฟ้าได้ไวมากเท่าไหร่ ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขณะทำการชาร์ตก็จะยิ่งสูงขึ้น  ด้วยเหตุนี้ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) จึงได้จัดร่วมมือกันจัดทำ“มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์จ่ายไฟยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการอัดประจุไฟฟ้า สำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัย อาคารชุด อาคารสำนักงานและลักษณะที่คล้ายกัน” ซึ่งในบทความนี้จะได้สรุปแนวทางการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมของบ้านและการติดตั้ง EV charger ตามมาตรฐานนี้

 

การติดตั้ง EV Charger ที่ได้มาตรฐานนับเป็นเรื่องที่สําาคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกซื้อเครื่อง EV Charger ที่ได้มาตรฐาน หากผู้ติดตั้งไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องระบบการป้องกันไฟรั่ว และการต่อลงดินที่ถูกต้อง อาจจะทําาให้ระบบป้องกันของเครื่อง EV Charger ทํางานผิดพลาด
เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินได้ 

1) เพิ่มสายเมนวงจรที่  2 2) ต่อวงจรชาร์ตรถไฟฟ้าเพิ่มจากระบบไฟเดิม
ระบบสายดินของบ้าน TN-C-S
ระบบสายดิน EV charger TT TT TN-C-S
การป้องกันทางไฟฟ้า RCD type B, I∆n ≤ 30 mA

สายดิน 16 sq.mm.

หลักดินทองแดงแยกจากหลักดินของบ้าน

RCD type B, I∆n ≤ 30 mA

สายดิน 16 sq.mm.

หลักดินทองแดงแยกจากหลักดินของบ้าน

ความต้านทานสายดินของระบบไฟฟ้าของบ้านเดิมต้องไม่เกินค่าที่กำหนด

มิเตอร์ ความต้านทานสายดิน Ω
15 (45) 2.5
30 (100) 1.25
> 30 (100) ไม่แนะนำ

 

 

โหมดการชาร์ต โหมด 3, โหมด 4 โหมด 2, โหมด 3 โหมด 2, โหมด 3

หมายเหตุ ตารางนี้เป็นการสรุปแนวทางการติดตั้ง EV charger ในแบบย่อเพื่อให้ภาพรวมของแนวทางการติดตั้งและการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเท่านั้น โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานการติดตั้ง รวมถึงจุดที่ต้องทำการตรวจเช็คสำหรับรูปแบบการติดตั้ง EV charger ในแต่ละรูปแบบตาม link                                                                                

รูปภาพแสดงวิธีการติดตั้ง EV Charger โดยการเพิ่มสายเมนวงจรที่ 2

รูปภาพแสดงการติดตั้ง EV Charger โหมด 2 โดยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมของบ้าน

รูปภาพแสดงการติดตั้ง EV Charger โหมด 3 โดยการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมของบ้าน ที่ได้มาตรฐานนับเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกซื้อเครื่อง EV Charger ที่ได้มาตรฐาน หากผู้ติดตั้งไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องระบบการป้องกันไฟรั่วและการต่อลงดินที่ถูกต้อง อาจจะทำให้ระบบป้องกันของเครื่อง EV Charger ทำงานผิดพลาด เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินได้ และในยุคสมัยใหม่ในการใช้พลังงานทดแทนใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยการลดค่าไฟ และสามารถนำพลังงานกลับเข้ามาใช้ในตัวรถได้ด้วยซึ่งคุ้มค่าไม่ทำลายทรัพยากรณ์ธรรมชาติ และช่วยให้โลกมีพลังงานสะอาดมากขึ้นไปจนถึงอนาคต หันมาสนใจโลกมากขึ้นหรือใช้โซล่าเซลล์เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยโลกอ่านเพิ่มเติมได้ในลิงค์ด่านล่าง

 

อ้างอิงจาก

  1. Electric Vehicle and EV charging fundamentals – Electrical Installation Guide (electrical-installation.org)
  2. https://www.mea.or.th/upload/download/file_a1a36341f340c8d9a62d063dd1759f8d.pdf
  3. https://www.mea.or.th/profile/3361/3440