การขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข การขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์แบบโซล่าภาคประชาชน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องติดตั้งต่ำกว่า 10 kW เพื่อใช้ขายไฟฟ้าให้กับทางภาครัฐที่ 1.68 บาท แล้วนั้น

เราจะสามารถ การขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์แบบทั่วไปก็ได้ครับ ซึ่งจะมีความซับซ้อน และมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องถึง 3 หน่วยด้วยกัน คือ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ การไฟฟ้านครหลวง/ส่วนภูมิภาค ครับ

source : www.erc.or.th

การขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ แบบทั่วไปนั้น ขั้นตอนแรกในการขออนุญาตจะเริ่มจากการขออนุญาตจากส่วนท้องถิ่น โดยจะเป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารครับ ซึ่งถ้าเราติดโซล่าเซลล์น้อยกว่า 160 ตร.ม. ( ถ้าแผ่นโซล่าเซลล์ขนาด 400W ที่ขนาด 2 ตร.ม. ก็จะมีกำลังการผลิตประมาณ 30 kWp ) และ โครงสร้างรับน้ำหนักไม่เกิน 20 กก./ตร.ม.  ก็ทำเพียงแค่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ทราบ โดยจะต้องมีแบบสำรวจอาคารตามที่ กกพ กำหนด และ เอกสารอื่นๆตาม list ของทาง กกพ. กำหนด โดยจะต้องมีวิศวกรโยธาเซ็นรับรองความปลอดภัยของการติดตั้ง สำหรับการติดตั้งขนาดที่เกิน 160 ตร.ม. และ โครงสร้างรับน้ำหนักเกิน 20 กก./ตร.ม. จะต้องทำการขอการแก้ไข ดัดแปลงอาคาร หรือเรียกสั้นๆว่า อ.1 ซึ่งจะต้องให้ทางวิศวกรโยธาออกแบบการติดตั้งให้ปลอดภัย และ ยื่นขอทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เพื่อออกใบอนุญาตดังกล่าว โดยขั้นตอนนี้เท่าที่ทำมาจะใช้เวลาในการเตรียมเอกสารประมาณ 2-3 สัปดาห์ และ การขออนุญาตอีกประมาณ 2 สัปดาห์

สำหรับขั้นตอนที่ 2 ทางผู้รับติดตั้ง ระบบโซลาเซลล์จะดำเนินการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตราฐานที่ทางวิศวกรโยธาได้ออกแบบไว้ แล้วดำเนินการเกี่ยวกับทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยเริ่มจากการลงทะเบียนผู้ประกอบกิจการพลังงานได้ที่ http://app04.erc.or.th/elicense/login.aspx หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการขอแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาต โดยจะต้องมีเอกสาร การติดตั้งอุปกรณ์ แบบ Singer line diagram Mini CoP Checklist ของงานติดตั้งโซล่าเซลล์ และ อื่นๆ โดยจะต้องมีวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง การดำเนินการในขั้นตอนนี้จะต้อง upload เอกสารทั้งหมดเข้าไปในระบบของ กกพ และ ต้องส่งตัวจริงที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อาคารจามจุรีสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่  กกพ. จะส่งข้อเรื่องไปยัง กกพ. ประจำท้องที่เพื่อตรวจระบบให้เป็นไปตามมาตราฐานการติดตั้ง และ ออกใบอนุญาตต่อไป โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาในการเตรียมเอกสารประมาณ 2-3 สัปดาห์ และ การขออนุญาตอีกประมาณ 2 สัปดาห์ เช่นกัน

สำหรับขั้นตอนสุดท้าย เป็นการขออขนาไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้านครหลวง/การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเอกสารจะเหมือนกับชุดเดียวที่ส่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน แต่จะเพิ่ม ใบแจ้งผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาต ด้วยซึ่งจะต้องติดตั้งกับการไฟฟ้านครหลวง/การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในท้องที่นั้นๆ เพื่อทำการขนานไฟฟ้า สำหรับขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ  2 สัปดาห์ โดยดาวโหลดเอกสารได้ที่ : www.pea.co.th/vspp/

โดยสรุปแล้วเราจะต้องมีเวลาประมาณ 3 เดือน ในการขออนุญาตอย่างถูกต้องกับสามหน่วยงานราชการ นอกจากเรื่องเวลา และ การเดินทางเพื่อยื่นเอกสารมากมายแล้วจะยังมีค่าใช้จ่ายในการออกแบบด้านโยธาและไฟฟ้าอีกด้วย อย่างไรก็ตามการออกแบบนั้นทำให้ผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มั่นใจได้ว่าระบบที่ติดตั้งไปนั้นมีความปลอดภัย และ ไม่ส่งผลกระทบต่อ ระบบไฟฟ้าของทางการไฟฟ้านครหลวง/การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค